ถาม-ตอบ (Q&A)
คุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยพัฒนาได้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์ DIPA
             คุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยพัฒนาได้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์  DIPA
The Moral Development for Early childhood by Model of experience “DIPA”

อรุณลักษณ์  คำมณี  
Arunluck  Khammanee

            คุณธรรม  คือ  สิ่งดีงามที่จำเป็นต้องปลูกฝังให้มีในตัวบุคคล  เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก  รัฐตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว  จึงวางนโยบายในการพัฒนาคุณธรรมดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2) มาตรา 81 กำหนดว่า  รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้  คู่คุณธรรม  การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผสมผสานความรู้ด้านต่าง ๆ  อย่างได้สัดส่วนสมดุล รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม  ค่านิยมที่ดีงาม  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  (สมชาย  พงษ์พัฒนาศิลป์ ; และเผ่าพันธุ์  ชอบน้ำตาล. 2554 : 34)   และนโยบายดังกล่าวยังระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  12 (พ.ศ. 2560-2564) มีจุดมุ่งหมายพัฒนาศักยภาพของคนด้านจิตใจให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพเพียบพร้อมคุณธรรม มีระเบียบวินัย  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีค่านิยมที่ดีงาม และจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น  ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะสมอง และทักษะทางสังคมที่เหมาะสม  และในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546 ยังได้กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้ในมาตรฐานที่ 4 ว่าเด็กปฐมวัยต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม ซึ่งประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ คือ มีวินัยในตนเอง  และมีความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์สุจริต  และยอมรับความผิดพลาดของตนเองและคนอื่น  มีความเมตตากรุณาและช่วยเหลือแบ่งปัน  รู้จักประหยัด  (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2548 : 36 ) จากนโยบายของชาติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คุณธรรมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งรีบดำเนินการเสริมสร้างให้มีในกลุ่มคนทุกช่วงวัย  และในการนี้จะเกิดผลเป็นอย่างดีถ้ามีการสอดแทรกคุณธรรมผ่านระบบการจัดการศึกษา
เด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาประเทศ  เด็กวัยนี้สามารถที่จะพัฒนาระดับคุณธรรม จริยธรรม รู้ คิด และเลียนแบบสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีได้ เนื่องจากเด็กในวัยนี้เป็นวัยของการวางรากฐานด้านบุคลิกภาพ  และเป็นวัยที่พัฒนาการทุกด้านเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา นอกจากนี้ เด็กในวัยนี้ยังเป็นวัยของการเริ่มต้นพัฒนาการคิดเชิงนามธรรมอันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกฝังคุณธรรมให้เกิดขึ้นในใจ  (อดิศร จันทรสุข. 2559 : 8)                
          รูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาคุณธรรม สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยศึกษาแนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมและทฤษฎีการเรียนรู้   เพื่อนำมาใช้ในการสังเคราะห์รูปแบบการจัดประสบการณ์คุณธรรม  คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์และบรูเนอร์  แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  แนวคิดการพัฒนาด้านพุทธิพิสัยและจิตพิสัยของบลูม  กฎแห่งการฝึกหัดของธอร์นไดค์  ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้  และแนวคิดการสะท้อนคิด  สังเคราะห์เอกสาร  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ผลการสังเคราะห์ทำให้ได้รูปแบบมีองค์ประกอบการสอน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นรับข้อมูล (Data : D) ขั้นศูนย์ปฏิสัมพันธ์ (Interaction : I) ขั้นสรุป แบ่งปัน นำเสนอได้ (Present : P) และขั้นประยุกต์ใช้เหมาะสม (Application : A) 

คำสำคัญ : คุณธรรม ; เด็กปฐมวัย ; รูปแบบการจัดประสบการณ์ 
IP : 202.29.15.70
โพสเมื่อวันที่ : 22 ก.ย. 2559,11:28 น.
แสดงความเห็น
ความคิดเห็น :
ชื่อ :
อีเมล์ :
เบอร์โทร :
กรอกรหัส :