ถาม-ตอบ (Q&A)
การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ การจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนอย่างเข้มแข็ง
การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ
การจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนอย่างเข้มแข็ง
The Development of ANACONDA Technical Administrational for
Potential Enchanting to Learning Manage of Students Quality to Sustainable
วีรยุทธ  ปรุงชัยภูมิ[1]
Weerayut Proongchaiyaphum.
 
บทคัดย่อ
            การพัฒนาการบริหารงานวิชาการ เป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีศักยภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาและองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ 2) การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดา 3) ความเหมาะสมการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดา 4) ศักยภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเข้มแข็งของครูผู้สอน 5) ศักยภาพการเรียนรู้อย่างเข้มแข็งและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน 6) ผลสำเร็จการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานและปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ดำเนินการกับประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวน 634 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและการจัดกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน การทดสอบค่า t- test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ F-test โดยใช้คอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการ เกิดจากการขาดระบบการดำเนินงานการบริหารจัดการและการส่งเสริมความร่วมมือ อย่างต่อเนื่อง และมีสภาพปัญหาขององค์ประกอบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดา เป็นวิธีการและกลยุทธ์การบริหารจัดการและการสร้างความตระหนัก โดยการสร้างกระบวนการอย่างมีส่วนร่วมลักษณะร่วมทราบ ร่วมวิเคราะห์ ร่วมปฏิบัติ จากการมุ่งผลสำเร็จและเป้าหมายเดียวกันให้เกิดความเข้มแข็ง
3. ความเหมาะสมการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ศักยภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเข้มแข็งของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ศักยภาพการเรียนรู้อย่างเข้มแข็งของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีผลสัมฤทธิ์ ปี 2557 สูงกว่าปี 2556 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ผลสำเร็จการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนอย่างเข้มแข็งโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์เชิงบวก เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ :  การบริหารงานวิชาการแบบอนาคอนดา, ศักยภาพการจัดการเรียนรู้, คุณภาพผู้เรียน
 
ABSTRACTS
The development of technical administrational was to learning manage development to potential. The objective to studies of; 1) the problem state and condition of technical administrational 2) the development of ANACONDA technical administrational 3) the levels of development on ANACONDA technical administrational 4) the potential of learning manage to sustainable on teachers 5) the potential of learning and achievement on students 6) the successful of development on ANACONDA technical administrational for potential enchanting to learning manage of students quality to sustainable. The methodology was mixed and participatory action with to the key information per as 634 persons due to data by questionnaire and evolutional to data analysis on descriptive statistics, mean average, standard deviation, t-test, F-test. The fielding to shows:
1. The problem state of technical administrational haven’t to administrational and management to dynamics, and the condition problem state have to high levels.
 2. The development of ANACONDA technical administrational was of the administrational process to learning manage development on participatory have to potential on understanding, analysis, actionable.   
3. The levels of the development on ANACONDA technical administrational have to high levels.
4. The potential of learning manage to sustainable on teachers have to most levels.
5. The potential of learning on students have to most levels, and achievement in 2015 more than in 2014 was to different with statistical significance at .01.
6. The successful of development on ANACONDA technical administrational for potential enchanting to learning manage of students quality to sustainable have to most levels, and have relation manner value adds was statistical significance at .01.
Key Words:  ANACONDA Technical Administrational, Learning Manage Potential, Students Quality.   


[1] ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30
 

โพสโดย : วีรยุทธ
IP : 223.206.246.129
โพสเมื่อวันที่ : 19 ธ.ค. 2558,16:38 น.
แสดงความเห็น
ความคิดเห็น :
ชื่อ :
อีเมล์ :
เบอร์โทร :
กรอกรหัส :